วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความขัดแย้ง







ความขัดแย้งในสังคมไทย ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และปัญหาในสังคมต่างๆตามมามกมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง ปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัวและปัญหายาเสพติด
ความขัดแย้งในสังคมมีสาเหตุและมีลักษณะอย่างที่กล่าวมาเบื้องต้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีข้อสังเกตว่า สังคมทุกสังคมย่อมหลีกเลี่ยงความขัดแย้งไม่ได้ ความขัดแย้งในสังคมจึงเป็นเรื่องปกติ เป็นแต่เพียงว่าความขัดแย้งดังกล่าวยังสามารถหาข้อยุติได้ในกรอบของกลไกที่มีอยู่สังคมนั้นก็สามารถดำเนินต่อไป หรือตราบเท่าที่ปัญหาความขัดแย้งอยู่ในสัดส่วนที่ไม่แผ่กระจายไปทั่วทั้งสังคมจนหาวิธีการหรือกลไกเพื่อยุติความขัดแย้งไม่ได้สังคมนั้นก็สามารถดำเนินต่อไป โดยในภาพรวมจะถือได้ว่าสังคมนั้นยังอยู่ได้อย่างมีความสมานฉันท์ แต่เมื่อใดก็ตามที่ความขัดแย้งถึงจุดที่ไม่สามารถจะแก้ไขเยียวยาได้ ทางเลือกของสังคมก็จะถูกจำกัดลง โดยมีทางออกอยู่สองทางคือ การพยายามแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธี ด้วยการเจรจาหรือไกล่เกลี่ย หรือมิฉะนั้นก็คงต้องแก้ไขความขัดแย้งด้วยการใช้กำลังหรือความรุนแรง ผลที่ออกมาก็คือ การที่ฝ่ายหนึ่งชนะ อีกฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้ ผู้ชนะก็จะสร้างระเบียบการเมืองขึ้นมาใหม่ และถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถจะเอาชนะกันได้ก็อาจจะถึงกับแตกแยกออกเป็น 2 ส่วน หรือ 3 ส่วน ของหน่วยชุมชนหรือหน่วยการเมืองใหม่แล้วแต่กรณี








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น